วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

การแบ่งประเภทแฟ้มข้อมูล


                         แฟ้มข้อมูลจะถูกแบ่งแยกประเภทตามการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตามเกณฑ์ที่จะใช้จำแนก โดยส่วนใหญ่มักจะใช้เนื้อหาและการเรียกค้นหาข้อมูลเป็นเกณฑ์ ดังนี้



การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลโดยใช้เนื้อหาข้อมูลเป็นเกณฑ์
1.              แฟ้มข้อมูลรายการหลัก (Master File)
ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีสภาพค่อนข้างคงที่ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัตินักศึกษา จะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ คณะ และโปรแกรมวิชา เป็นต้น ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใน Master File ให้ทันสมัยสามารถทำได้ 3 รูปแบบคือ การเพิ่ม (add) การลบออก (delete) และการแก้ไข (modify) เช่น การเพิ่มระเบียนของนักศึกษาในกรณีที่เป็นนักศึกษาใหม่ การลบระเบียนของนักศึกษาในกรณีที่นักศึกษาลาออก และการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของนักศึกษา เป็นต้น
2.              แฟ้มข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File)
ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่มักมีการเคลื่อนไหวหรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น แฟ้มข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาที่จะต้องมีการลงทะเบียนเรียนในทุกๆ ภาคการศึกษา เป็นต้น
3.              แฟ้มข้อมูลรายงาน (Report File)
ทำหน้าที่เก็บรายงานที่ได้จากคอมพิวเตอร์ไว้ เนื่องจากการเก็บแฟ้มข้อมูลรายงานไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง มีข้อดีคือจัดเก็บได้สะดวกและทนทานกว่าการเก็บเป็นกระดาษ อีกทั้งสามารถสั่งพิมพ์เมื่อใดและปริมาณเท่าใดก็ได้
4.              แฟ้มข้อมูลเก็บผลลัพธ์ (Output File)
โปรแกรมส่วนมากจะมีการรับข้อมูลเข้ามาประมวลผล และได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลใหม่ออกมา ข้อมูลใหม่อาจแสดงออกทางหน่วยแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลก็ได้เรียกแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลใหม่นี้ว่า แฟ้มข้อมูลเก็บผลลัพธ์ และสามารถนำแฟ้มข้อมูลนี้ไปเป็นข้อมูลนำเข้าของโปรแกรมอื่นได้ต่อไป


5.              แฟ้มข้อมูลสำรอง (Backup)
ใช้เก็บสำรองข้อมูลในแฟ้มข้อมูลที่มีความสำคัญสูงการสำรองข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์เนื่องจากสื่อที่เก็บข้อมูลต่างๆ อาจเกิดปัญหาได้โดยที่ผู้ใช้คาดไม่ถึงดังนั้นเราควรจัดเก็บข้อมูลลงบนสื่อบันทึกข้อมูลอื่นด้วย เพื่อเป็นการสำรองข้อมูลในกรณีที่มีปัญหา ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาใช้ใหม่
การแบ่งประเภทของแฟ้มข้อมูลโดยใช้การเรียกค้นหาข้อมูลเป็นเกณฑ์
1.              แฟ้มลำดับ (Sequential File)
เป็นแฟ้มที่มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบพื้นฐานที่สุด กล่าวคือ เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลลงในแฟ้มทีละระเบียน ข้อมูลจะเข้าต่อท้ายเรียงกันไป ในการย้ายข้อมูลก็จะอ่านข้อมูลทีละระเบียน เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
2.              แฟ้มสุ่ม (Random / Direct File)
เป็นแฟ้มที่มีคุณสมบัติที่ผู้ใช้สามารถอ่านหรือเขียนที่ตำแหน่งใดๆ ก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับจากต้นแฟ้ม
3.              แฟ้มแบบดัชนี (Index File)
แฟ้มแบบนี้จำเป็นต้องมีการจัดเรียงข้อมูลในเขตข้อมูลที่เป็นดัชนีเสียก่อน เพื่อประโยชน์ในการค้นหา การหาตำแหน่งในการเขียนการอ่านในระเบียนที่ต้องการปกติจะใช้ข้อมูลที่เป็นกุญแจสำหรับการค้นหา เพื่อความสะดวกในการกำหนดตำแหน่งการเขียนอ่าน
ข้อดีของการจัดการข้อมูลด้วยแฟ้มข้อมูล
1.              การประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เนื่องจากมีการแยกข้อมูลไว้เป็นแฟ้มต่างๆ
2.              ลงทุนต่ำในเบื้องต้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถมาก ก็สามารถทำการประมวลผลข้อมูลได้
3.              สามารถออกแบบแฟ้มข้อมูลและทำการพัฒนาได้ง่าย เนื่องจากมีขั้นตอนไม่สลับซับซ้อนมากนัก

แหล่งที่มา
1.              http://scitech.rmutsv.ac.th/comtech/Student/Information_Theory/?p=120
2.              http://pry-pleng.blogspot.com/2010/03/blog-post.html
3.              http://wanchai.hi.ac.th/3204-2116/DBPR1.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น